ไอโอดีนคืออะไร ไปเกี่ยวข้องกับโปแตสเซียมไอโอไดด์ ได้อย่างไร
ไอโอดีนคือแร่ธาตุตัวหนึ่งที่ร่างกายของเราสร้างไม่ได้ จำเป็นต้องกินเข้าไปเป็นสารอาหารเพื่อไปทำหน้าที่ แต่ไอโอดีนถ้าตั้งทิ้งไว้ในธรรมชาติ มันจะไม่คงตัว พอมันไปไปจับกับโปแตสเซียมทำให้มันคงตัวมากขึ้นเรียกกันว่า โปแตสเซียมไอโอไดด์ บางทีเราจึงเรียกไอโอดีนนี้ว่าเกลือไอโอไดด์ (iodide) หรือ เกลือไอโอเดต (iodate)
หน้าที่ความสำคัญของไอโอไดด์ หรือ ไอโอดีนในร่างกายเรายามปกติ
ไอโอไดด์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไธรอยด์ของคุณเองที่เรียกว่า ไธร๊อกซีน (Thyroxine) หรือไธรอยด์ฮอร์โมนนั่นเอง ต่อมไธรอยด์จะดูดซึมไอโอไดด์จากกระแสเลือดที่ได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป ร่วมกับกรดอะมิโน ไธโรซีน(tyrosine) แล้วสร้างเป็นไธรอยด์ฮอร์โมน ดังนั้นไอโอไดด์เกือบทั้งหมดในร่างกายคุณจะอยู่ที่ต่อมไธรอยด์นี้ และมีอยู่ในกระแสเลือดน้อยมาก
ไธรอยด์ฮอร์โมนมีหน้าที่สำคัญต่อระบบเมตาบอลิซึ่มของร่างกาย การเผาผลาญอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายทำให้เรากระฉับกระเฉง มีพลังทำงานต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเซลล์ จึงช่วยทำให้การพัฒนาและการเจริญเติบโตของเด็ก
ไอโอไดด์ ในทางการแพทย์ใช้ทำอะไร
เรามีการนำสารดังกล่าวซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีเพื่อเป็นวินิจฉัยโรค ใช้ตรวจสอบการทำงานของอวัยวะต่างๆโดยไม่ต้องผ่าตัดครับ ส่วนในผู้ป่วยคอหอยพอกที่เกิดจากต่อมไธรอยด์เป็นพิษคือทำงานมากเกินไป ในทางการแพทย์เราจะใช้ไอโอไดด์ในรูปแบบ I-131 ที่มีการควบคุมปริมาณและวิธีการให้อย่างละเอียดเพื่อเข้าไปชะลอลดการทำทำงานของต่อมดังกล่าวไม่ให้มากเกินไป และกลับมาในภาวะปกติ
โปแตสเซียมไอโอไดด์ธรรมดา กลไกในการขจัดไอโอดีนหรือไอโอไดด์ที่มีรังสีอันตราย
ในกลุ่มผู้ป่วยและผู้ให้การรักษาดังกล่าว อาจจะมีความเสียงในการรับไอโอไดด์ในรูปแบบ I-131 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี มันก็จะไปสะสมตกค้างอยู่ที่ต่อมไทรอยด์มากเกินไป ถ้าอย่างรุนแรงก็จะก่อเกิดอันตรายจนเป็นต้นเหตุของมะเร็งต่อมไธรอยด์ได้
การรักษาเราจึงให้ตัวยาที่เป็นโปแตสเซียมไอโอไดด์ธรรมดาที่ไม่มีรังสีแต่อย่างใด ไอโอไดด์ธรรมดานี้พอคุณได้รับเข้าไป มันจะวิ่งรี่ตรงไปที่ต่อมไธรอยด์ จนมากเกินที่ร่างกายต้องการเสียก่อน แต่ถ้าหากมีไอโอไดด์ในรูปแบบ I-131 ที่อยุ่ในรูปสารกัมมันตรังสีชุดหลังต่อมาเข้าสู่ร่างกายคุณได้ ร่างกายเราจะปลอดภัยเนื่องมาจาก เพราะที่ต่อมดังกล่าวของคุณที่มีไอโอไดด์ธรรมดาจับตัวอิ่มแล้วนะ ไอโอไดด์ส่วนเกินในรูปแบบ I-131 ที่มีกัมมันตรังสีไม่สามารถหาที่อยู่ได้ ต้องกลับต้องไปวิ่งวนอยู่ในกระแสเลือด แล้วร่างกายคุณก้อจะกำจัดไม่ให้ตกค้างโดยการฉี่ออกมาในที่สุด
ผลจากวิกฤตนิวเคลียร์ครั้งนี้เกิดอะไรขึ้น
ผลจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกจนเกิดสึนามิครั้งนี้ สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนไปถึงโรงงานผลิตพลังงานจากนิวเคลียร์ ฟุกุชิม่า ไดอิจิอย่างพังพินาศอย่างน่ากลัวที่สุด แต่ผลตามมาที่เราห่วงกันก็คือเกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานเข้าสู่ผู้คนที่อยู่อาศัยในละแวกนั้นรวมทั้งมีการรั่วไหลลงสู่ผืนทะเลโดยรอบ จากการตามติดรายงานพบว่า น้ำทะเลที่ห่างจากโรงงานออกไป ถึง 60 ไมล์ ยังพบสารกัมมันตภาพรังสีคาดว่าจะเป็น ซีเซี่ยม-137 (Cesium-137) และ ไอโอดีน-131 (Iodine-131) ปนเปื้อนอยู่
ปัญหาคือเจ้าสารไอโอดีน-131 นี้เป็นกัมมันภาพรังสีเดียวกับที่เคยรั่วเมื่อสมัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล และพบว่าทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมไธรอยด์มากมายถึง 6,000-7,000 รายในครั้งนั้น
การป้องกันการได้รับสารกัมมันตรังสี
หากมีการปนเปื้อนของ ไอโอดีน-131 (Iodine-131) ในอากาศแล้ว เจ้าสารรังสีนี้จะแพร่เข้าสู่ร่างกายคุณได้เพียงเส้นทางการสูดหายใจ หรือ กินเข้าไปเท่านั้น ดังนั้นเขาจึงมีคำแนะนำให้หากอยู่ในสถานที่ใกล้แหล่งรังสี ให้ปิดประตูบ้านและหน้าต่าง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี การใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดตัวเปียกยัดตามซอกรูหรือช่องที่ต่อนอกตัวบ้านจะพอป้องกันการกระจายมากับลมได้
แล้วพิษจาก ซีเซี่ยม-137 (Cesium-137) หล่ะ เจ้าสารรังสีนี้จะแพร่เข้าสู่ร่างกายคุณได้มากในการกินเข้าไป และมักเองจะมีโอกาสปนเปื้อนได้โดยตกข้างในพืช สัตว์ ที่เรายังมีความสามารถที่ป้องกันได้โดยการไม่กินสิ่งปนเปื้อน ไม่เหมือนเจ้าตัวบนที่มีโอกาสเข้าสู่ร่างกายเราได้ง่ายกว่าเยอะ และถึงแม้นว่าเราต้องรับซีเซี่ยม-137 เข้าไปในร่างกายเราส่วนใหญ่แล้วจะไปสะสมอยู่มากในเนื้อเยื่อ และส่วยน้อยอยู่ในตับและไขกระดูก แต่ในข่าวร้ายยังมีข่าวดีคือร่างกายของเราสามารถขับถ่ายสารนี้ได้ดีมาก ร่างกายจะขับออกมาอย่างรวดเร็วในรูปเหงื่อและ ปัสสาวะ โอกาสที่จะเป็นมะเร็งคือต้องกินสารปนเปื้อนนั้น เป็นระยะเวลานานๆต่อเนื่องกันมากกว่า ส่วนพิษของมันให้ผลรุนแรงน้อยกว่า ไอโอดีน-131 หากเราต้องไปรับสารนี้ เป็นปริมาณมากๆ มักทำให้เกิดอาการแพ้ คัน อย่างรุนแรง ชักเกร็งกระตุก
info credit: http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/03/16/entry-1