ฉะนั้นผู้ที่บริจาคโลหิตจึงควรรับประทานธาตุเหล็ก เพื่อช่วยทดแทนการสูญเสียธาตุเหล็กจากการบริจาคโลหิต เพราะร่างกายจำเป็นต้องใช้ธาตุเหล็กเสริมสร้างให้ไขกระดูกสร้างเม็ดโลหิตแดงมาทดแทนได้เร็วขึ้น การรับประทานยาธาตุเหล็ก จะทำให้อุจจาระเป็นสีดำ เพราะธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนผสมของยา ได้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนกับอาหารในกระเพาะ จึงทำให้เกิดสีดำซึ่งเป็นเรื่องปกติ
การมีระบบโลหิตที่ดีจึงเป็นพื้นฐานหนึ่งของการมีสุขภาพดี อาหารหรือสารอาหารที่ช่วยบำรุงโลหิต จึงมีความจำเป็นต่อร่างกาย ควรให้ความสนใจและรับประทานในปริมาณที่ร่างกายต้องการ ก็จะช่วยให้ระบบโลหิตในร่างกายของคุณหมุนเวียนได้ดี ส่งผลให้ผิวพรรณสดใส ไม่อ่อนเพลียและซีดจาง
อาหารบำรุงโลหิต บำรุงร่างกาย หลังการบริจาคเลือด
(After donating blood, What's best food to eat?)
ขอควรปฏิบัติ หลังจากการบริจาคโลหิต
เป็นที่แน่นอนว่าร่างกายเราต้องรู้สึกอ่อนเพลียเป็นธรรมดา เนื่องจากร่างกายต้องสร้างเซลเม็ดเลือดขึ้นมาทดแทน ดังนั้น การดูแลตนเองอย่างถูกต้องหลังจากการบริจาคโลหิตจึงสำคัญต่อร่างกายที่สมบูรณ์เร็วขึ้น ดังนี้
- ควรดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
- หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
- ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
- ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
กลุ่มที่ 1 : ธาตุเหล็กสูง จำเป็นต่อการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง เป็นตัวนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ได้แก่ ผักโขม ผักกูด ถั่วฝักยาว เห็ดฟาง พริกหวาน ใบแมงลัก ใบกะเพรา ยอดมะกอก และยอดกระถิน
กลุ่มที่ 2 : โฟเลตสูง สำคัญต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกุยช่าย ตำลึง กะหล่ำดอก ถั่วเมล็ดแห้ง และส้ม
กลุ่มที่ 3 : วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมโฟเลตและธาตุเหล็กจากพืชผักผลไม้ได้ดี ได้แก่ บรอกโคลี มะนาว ฝรั่ง มะขามป้อม และสตรอเบอร์รี่
นอกจากนี้ควรเสริมด้วย โยเกิร์ตไร้ไขมันรสธรรมชาติ และรับประทานปลา หรืออาหารทะเล สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อให้ได้วิตามินบี 12 ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
หลังจากร่างกายได้บริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้าง เม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ซึ่งทิ้งระยะไว้เพียง 3 เดือน ผู้บริจาคโลหิตก็จะสามารถทำการบริจาคโลหิตได้อีกครั้งหนึ่ง
credit: ข้อมูลจากนิตยสาร ชีวจิต, internet