Wednesday, November 23, 2011

"ดื่มชา" มีประโยชน์แต่ก็มีโทษมหันต์! (How to drink tea)

"ดื่มชา" มีประโยชน์แต่ก็มีโทษมหันต์!

คุณทราบไหมว่า ในปีหนึ่งๆ คนไทยบริโภคน้ำตาลเกินปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนด 4-5 เท่า โดยกำหนดไว้ที่ปริมาณ 6 ช้อนชาต่อวัน แต่คนไทยกินมากกว่าถึง 18-20 ช้อนชาต่อวัน ยิ่งในช่วงกระแสคลั่ง “น้ำชา” กำลังรุนแรง จะชาเขียว ชาขาว หรือชาอะไรก็ช่าง ในขวดชาพร้อมดื่มทั้งหลายที่ประเดประดังมาหลอกล่อเราอยู่นี้ มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากปัญหาเรื่อง “น้ำตาล” ที่มากับชาพร้อมดื่มทั้งหลายแล้ว ยังมีข้อควรรู้และข้อพึงระวังในการดื่มชาที่สำคัญ ได้แก่


1. ไม่ควรดื่มชาขณะกินยา ในใบชามีกรดแทนนิก (Tannic Acid) ประกอบอยู่ ยิ่งใบชาเกรดต่ำก็ยิ่งมีกรดแทนนิกสูง กรดนี้จะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ฉะนั้นจึงต้องไม่ดื่มน้ำชาร่วมกับยา เพราะกรดในน้ำชาอาจจะทำให้สรรพ สารต่างๆ ในน้ำชาอาจทำปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่อยาที่กินเข้าไป อาจทำให้คุณสมบัติของยาเจือจางหรือเสื่อมสภาพลง หรือขั้นร้ายแรงอาจกลายเป็นสารพิษได้ ถ้าหากอยากดื่มควร ดื่มก่อนหรือหลังทานยาประมาณ 2 ชั่วโมง

2. ไม่ควรดื่มชาก่อนนอน เพราะคาเฟอีนในน้ำชาจะทำให้นอนไม่หลับ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ คนชรา และเด็กเล็ก

3. ไม่ควรดื่มชาร้อนจัด เพราะการดื่มของร้อนจัดมีผลข้างเคียงต่อช่องปาก ลำคอ ลำไส้ได้ อาจทำให้เนื้อบางส่วนในช่องปากตาย และอาจเป็นต้นเหตุกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้

4. ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องหรือมีอาการไตวาย ไม่ควรดื่มน้ำชามาก เพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อยและไตต้องทำงานหนักขึ้น ขณะที่ประสิทธิภาพของไตยังทำงานได้ไม่เต็มที่

5. เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะกรดแทนนิกเมื่อรวมตัวกับธาตุเหล็กในกระเพาะอาหารและลำไส้ จะกลายเป็นสารที่ไม่สามารถละลายได้ ทำให้เด็กเล็กไม่เติบโต มีอาการขาดธาตุเหล็กและเป็นโรคโลหิตจางได้

6. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่หลอดเลือดแดงใหญ่ในหัวใจอุดตันไม่ควรดื่มน้ำชาเข้มข้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป หากความดันโลหิตขึ้นสูงมาก หรือหัวใจถูกกระตุ้นมากเกินขีดจะเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างรวดเร็วฉับพลัน

7. ผู้ที่มีไข้สูง ไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะด่างในน้ำชาจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น จึงยิ่งทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น กรดแทนนิกในน้ำชายังส่งผลให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ระบบการขับเหงื่อของร่างกายทำงานบกพร่อง คนที่เป็นไข้ซึ่งต้องการการขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนจึงไม่ควรดื่มชานั่นเอง

8. ปกติสารโพลีฟีนอล ในน้ำชาเขียวจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ แต่ถ้าดื่มชาที่เข้มข้นมากเกินไปจะทำให้ท้องผูก

9. ในชาเขียวมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 30-40% ของกาแฟ ถ้าดื่มมากๆ ก็จะทำให้ใจสั่น ตาลาย มึนงงเหมือนกับดื่มกาแฟเช่นกัน
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...