Tuesday, April 30, 2013

มาทำ "เต้าหู้อ่อน" ทานเองกันเถอะ (How to make soft tofu)


เต้าหู้ชนิดอ่อน

เต้าหู้ชนิดเหลืองนิ่ม วิธีการทำต่างจากเต้าหู้ขาวแข็งเพราะใช้แคลเซียมซัลเฟต (ผงยิปซัม หรือที่เรียกในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"เจียะกอ(石膏)") ในการทำให้โปรตีนในน้ำนมถั่วเหลืองตกตะกอน ซึ่งเนื้อจะเนียนและไม่แข็งเท่าเต้าหู้ขาวแข็ง เมื่อตกตะกอนแล้วนำมาใส่ผ้าขาวบางห่อในบล็อกให้เป็นก้อนแล้วนำไปต้ม ใส่ขมิ้นให้ได้สีเหลือง คุณสมบัติเด่นของเต้าหู้เหลืองนิ่มคือ เมื่อนำไปทอดแล้วจะทำให้ได้เต้าหู้ที่กรอบนอกนุ่มใน เต้าหู้ชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปผัดกับกุยช่ายขาว ทอดจิ้มน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน ทอดกินกับน้ำพริกกะปิหรือทอดจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟู้ดก็ได้

เต้าหู้ชนิดขาวอ่อน ลักษณะอ่อนนุ่มกว่าเต้าหู้เหลืองนิ่ม กรรมวิธีการผลิตเหมือนกับเต้าหู้เหลืองนิ่มจะต่างกันเพียงเวลาในการทำน้อยกว่า เต้าหู้ชนิดนี้นิยมนำไปทำเป็นแกงจืด เต้าหู้นึ่งหรือสเต๊กเต้าหู้

 เต้าหู้ชนิดห่อผ้า วิธีการทำเหมือนกับเต้าหู้ชนิดขาวอ่อน ต่างกันเพียงการบรรจุหีบห่อที่นำมาห่อผ้าแล้วมัดทำให้แข็งและคงรูปร่างได้ดีมากขึ้นเมื่อนำไปทำอาหาร ส่วนใหญ่จะนำไปทำเต้าหู้ทรงเครื่องหรือแกงจืด


"เจี๊ยะกอ" คือ แคลเซียมซัลเฟต (Calcium Sulfate) หรือ หินฝุ่น หรือ หินอ่อนสะตุ.. เวลาใช้ ต้องป่นและร่อน ให้เป็นผงละเอียด หาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ หรือร้านขายยาจีน แต่ที่ร้านขายยาจีน มักจะเป็นหินอ่อนที่ยังไม่ได้สะตุ
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ เจี๊ยะกอ เพิ่มเติม »



วิธีทำเต้าหู้อ่อน
(How to make soft tofu)

ส่วนผสม

  • ถั่วเหลือง 300 กรัม ( 3 ขีด)
  • เจี๊ยะกอ 1 ช้อนชา (สังเกตว่าเต้าหู้อ่อนจะใช้ “เจี๊ยะกอ” ในการทำ)


อุปกรณ์
  • เครื่องปั่น
  • ผ้าขาวบาง
  • ตะแกรง
  • ถ้วยตวงน้ำ
  • พิมพ์ไม้สี่เหลี่ยม
  • เขียงหรือของหนัก


วิธีทำ

1. เลือกเมล็ดถั่วที่เสียออก ล้างน้ำแล้วแช่น้ำ 3 ชั่วโมง จนเมล็ดถั่วพองและอมน้ำเต็มที่ บี้เอาเปลือกออกให้หมด (ควรใช้ถั่วเหลืองซีก) เคล็ดลับการทำเต้าหู้คือ การแช่ถั่วเหลืองไม่ควรนานเกิน 2-3 ชั่วโมง ให้สังเกตว่าพอเม็ดถั่วเริ่ม พอง อมน้ำเต็มที่ ก็จะใช้ได้ ถ้าเราแช่เมล็ดถั่วเหลืองในน้ำนานเกินไป จะทำให้โปรตีนในถั่วจับตัวกันได้ไม่ดีเท่าที่ควร

2. ใส่ ถั่ว และ น้ำ ลงในโถปั่น ปั่นเข้าด้วยกันจนละเอียด

3. กรองส่วนผสมด้วยผ้าขาวบาง (ผ้ากรองเป็นผ้าสังเคราะห์ เขาเย็บเป็นถุงเรียบร้อย ใช้กรองได้ดีกว่า ถึงดีมากๆ มีขายตามร้านขายของชำ)

4. บีบเอาน้ำนมถั่วเหลืองออกให้หมด

5. นำน้ำนมถั่วเหลืองมาต้ม โดยใช้ไฟกลางค่อนข้างแรง พอเดือดสักครู่ ปิดไฟ ระหว่างต้มคอยคนไปด้วย จะได้ไม่ไหม้ติดก้นหม้อ

6. เทน้ำเจี๊ยะกอลงในหม้อทีละน้อย คนให้เข้ากัน จนโปรตีนถั่วเหลืองจับตัวเป็นก้อน “คล้ายกะทิแตกมัน”

**** ถ้าโปรตีนถั่ว “ไม่ยอมจับตัวเป็นก้อนเล็กๆ” แสดงว่า *ความร้อนไม่พอ* ให้ตั้งไฟให้ร้อนสักพักจะจับตัวเป็นก้อนเล็กๆ (ตามตำราเขาใช้ปรอทวัดความร้อน แต่ลองทำแล้ว ไม่จำเป็นต้องเครียดขนาดนั้น ถ้ามันร้อนไม่พอ เราก็ตั้งไฟให้ร้อนใหม่ได้)

7. ตั้งหม้อทิ้งไว้สักครู่ให้โปรตีนตกตะกอน

8. ตักโปรตีนถั่วเหลืองใส่พิมพ์ไม้ที่รองด้วยผ้าขาวบางจนเต็ม ห่อให้เรียบร้อย

9. ทับด้วยเขียงหรือของหนักๆ ประมาณ 30 นาที จะได้เต้าหู้ (ถ้าไม่ชอบแข็งมาก ไม่ต้องทับก็ได้)

10. นำเต้าหู้ที่ได้ไปนึ่งสักครู่ ทิ้งไว้ให้เย็น เก็บใส่กล่องที่มีน้ำ ปิดฝาแช่ตู้เย็น

หมายเหตุ: เต้าหู้ที่ทำเสร็จ มีกลิ่นรส ความนุ่ม สี อะไรๆ คล้ายกับ “เต้าหู้ดาว” มาก พิมพ์ไม้สี่เหลี่ยม ตอนแรกยังไม่มี ใช้ตะแกรงพลาสติกสี่เหลี่ยม ที่มีรูๆ ก็ใช้ได้เหมือนกัน




เครดิต:
นายเหลือง.com
สมุนไพร.com 
th.wikipedia.org



Wednesday, April 24, 2013

วิธีทำ "น้ำดีเกลือ" แบบง่ายๆ (How to make Sodium sulfate)

เคล็ด(ไม่)ลับ เกี่ยวกับการปรุงอาหาร และงานครัวต่างๆ
(Cooking Tips and Kitchen Tricks)

เรื่อง ของการทำอาหาร งานบ้าน งานครัว จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าเรารู้เคล็ดลับในการจัดการค่ะ สำหรับเครื่องใช้ภายในบ้านนั้นมีมากมายหลายชนิด ทุกอย่างล้วนมีความสำคัญต่อการใช้ชิวิต ดังนั้นการดูแลทำความสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพของสมาชิกภายในครอบครัว โดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวที่ต้องสัมผัสกับปากโดยตรงยิ่งต้องดูแลมาก เป็นพิเศษ Food for Health Guide จึงรวบรวม ความรู้ เคล็ด(ไม่)ลับ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ในการปรุงอาหาร ทำอาหาร และงานครัวต่างๆ เพื่อที่คุณจะสามารถนำไปลองทำกันได้ง่ายๆ มาแนะนำค่ะ

......................................................................................................................................................

มาทำ "น้ำดีเกลือ" ไว้ใช้เองกันเถอะ


สำหรับคนที่ชอบทานเต้าหู้ แล้วต้องการหัดทำเต้าหู้แบบแข็งทานเอง มีส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่หายากคือ "ดีเกลือ" ซึ่งเป็นตัวที่จะช่วยให้น้ำถั่วเหลืองของเราตกตะกอนเป็นเต้าหู้นั่นเอง แล้วเจ้าดีเกลือนี่ก็ไม่ทราบว่าจะหาซื้อได้จากที่ไหน เดินไปถามในตลาดก็ไม่มี แล้วการทำเต้าหู้แข็งนี่ต้องใช้ ดีเกลือไทย หรือ ดีเกลือฝรั่ง กันแน่ ซึ่งเว็บส่วนมากก็จะบอกว่าใช้ "ดีเกลือ" แค่นั้น ?!?!?

เพื่อตัดปัญหาเหล่านี้ วันนี้จึงเอาวิธีการทำ "ดีเกลือ" แบบง่าย ๆ มาฝากค่ะ


อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้มี 5 อย่าง ได้แก่

1. ถัวยใบใหญ๋ใส่น้ำเปล่าไว้ 2 ใน 3 ของถ้วย

2. ถ้วยเปล่าใบเล็ก

3. ตระกร้าใบเล็กมีรู้ข้างล่างขนาดพอที่จะวางไว้บนถ้วยเปล่าใบเล็กได้ แล้วใส่เกลือทะเลเม็ดจนเต็ม

4. ถุงพลาสติกใหญ่พอที่จะใส่ถ้วยใบใหญ่ได้

5. เกลือทะเลเม็ด

เมื่อได้อุปกรณ์ครบแล้วก็เริ่มทำดีเกลือกันเลยค่ะ



วิธีการทำ

1. นำถ้วยใบเปล่าใบเล็ก ใส่ลงไปในถ้วยใบใหญ่ที่มีน้ำ

2. แล้ววางตะกร้าเกลือไว้บนถ้วยเปล่าใบเล็กอีกที

3. จากนั้นเอาถุงพลาสติกมาห่อไว้ ยกเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องธรรมดานี่แหละ ดีเกลือจะได้จากความชื้นกลั่นตัวเป็นไอน้ำผ่านเกลือที่ตั้งไว้ตกลงไปอยู่ในถ้วยใบเล็กค่ะ

4. วางไว้ประมาณ 10 วัน จะได้ดีเกลือมาประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ ถ้าอยากได้เยอะๆ หน่อยก็วางไว้นานหน่อยค่ะ  แต่ 4 ช้อนโต๊ะ นี่ไม่ต้องห่วงว่าจะน้อยไป เวลาทำเต้าหู้ใช้ประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะเท่านั้น

รสชาติของดีเกลือที่ได้จะออกเค็ม ๆ ขม ๆ เรียกว่าเค็มจนขม เลยค่ะ ยังไงก็ลองไปทำกันดูนะคะ


ดูเคล็ดลับทั้งหมด | SEE ALL TIPS & TRICKS »




เครดิต เรื่อง/ภาพ: บ้านสวนพอเพียง.com

Tuesday, April 16, 2013

"ดีเกลือ" คืออะไร? (Sodium sulfate & Magnesium sulfate)

เคล็ด(ไม่)ลับ เกี่ยวกับการปรุงอาหาร และงานครัวต่างๆ
(Cooking Tips and Kitchen Tricks)

เรื่อง ของการทำอาหาร งานบ้าน งานครัว จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าเรารู้เคล็ดลับในการจัดการค่ะ สำหรับเครื่องใช้ภายในบ้านนั้นมีมากมายหลายชนิด ทุกอย่างล้วนมีความสำคัญต่อการใช้ชิวิต ดังนั้นการดูแลทำความสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพของสมาชิกภายในครอบครัว โดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวที่ต้องสัมผัสกับปากโดยตรงยิ่งต้องดูแลมาก เป็นพิเศษ Food for Health Guide จึงรวบรวม ความรู้ เคล็ด(ไม่)ลับ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ในการปรุงอาหาร ทำอาหาร และงานครัวต่างๆ เพื่อที่คุณจะสามารถนำไปลองทำกันได้ง่ายๆ มาแนะนำค่ะ

......................................................................................................................................................

"ดีเกลือ" คืออะไร?

ดีเกลือ คือสารประกอบ เกลือซัลเฟต ของโซเดียมและแมกนีเซียม แบ่งออกเป็นสองชนิด ซึ่งทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติและลักษณะแต่งต่างกัน คือ

1. ดีเกลือไทย 
มีสูตรทางเคมีว่า Na2SO4 ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของโซเดียม หรือเรียกง่ายๆว่า "โซเดียมซัลเฟต" (Sodium sulfate) มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสเค็ม มีคุณสมบัติเป็นถ่ายพิษเสมหะและโลหิต ถ่ายอุจจาระ ถ่ายพรรดึก ทำให้เส้นเอ็นหย่อน

2. ดีเกลือฝรั่ง 
มีสูตรทางเคมีว่า MgSO4.7H2O ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของแมกนีเซียม หรือเรียกว่า "แมกนีเซียมซัลเฟต" (Magnesium sulfate) เรียกเป็นภาษาสามัญแบบฝรั่งว่า Epsom salts หรือ Bitter Salt เหตุเพราะมีรสขมฝาด ไม่ได้เค็มเหมือนเกลืออย่างที่เข้าใจ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวหรือใส คล้ายผงชูรส ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้


 ลักษณะที่ใช้กันจะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดขาว ซึ่งได้มาจากการนำน้ำทะเลมาเคี่ยวจนแห้ง เหลือเป็นเกลือสะตุ แต่ยังมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นจากอากาศอยู่ ดังนั้น เมื่อวางดีเกลือทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง จะทำให้จับตัวแข็งเป็นก้อน

มีคุณสมบัติเป็นยาระบายถ่ายอุจจาระ ถ่ายพิษเสมหะและโลหิต นิยมนำเอามาใช้ในการรักษาปลา และยังมีการนำไปใช้ในการเกษตรเรื่องเอาไปช่วยรักษาดินที่ขาดแมกนีเซียม นอกจากนี้สาวๆ ยังนิยมนำไปเป็นส่วนผสมในการรักษาสิวแบบประหยัดอีกด้วย

ดีเกลือทั้งสองแบบมีคุณประโยชน์คล้ายกัน แต่โดยส่วนมากดีเกลือที่มีในท้องตลาดจะเป็น แมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือฝรั่ง) สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสารเคมีทั่วไป ศึกษาภัณฑ์ หรือร้านขายยาแผนโบราณ โดยมีคุณสมบัติ ได้แก่...

ใช้เพื่อกินเป็นยาระบาย โดยผสมน้ำ 3 ถ้วยต่อดีเกลือ 4 ช้อนโต๊ะ

ใช้ในบ่อกุ้ง เพื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียม ช่วยกุ้งสร้างเปลือกใหม่ ในช่วงลอกคราบ

ใช้ประกอบอาหาร อาทิ เต้าหู้ ดีเกลือจะช่วยแยกชั้นเนื้อและชั้นน้ำของถั่วเหลืองปั่น

ใช้ในการขับไล่สารพิษในไต

ใช้เพื่อปรับสภาพดิน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชประเภทผล เช่น มะเขือเทศ มันฝรั่ง


ดูเคล็ดลับทั้งหมด | SEE ALL TIPS & TRICKS »

 

Wednesday, April 10, 2013

"เจี๊ยะกอ" คืออะไร?

เคล็ด(ไม่)ลับ เกี่ยวกับการปรุงอาหาร และงานครัวต่างๆ
(Cooking Tips and Kitchen Tricks)

เรื่อง ของการทำอาหาร งานบ้าน งานครัว จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าเรารู้เคล็ดลับในการจัดการค่ะ สำหรับเครื่องใช้ภายในบ้านนั้นมีมากมายหลายชนิด ทุกอย่างล้วนมีความสำคัญต่อการใช้ชิวิต ดังนั้นการดูแลทำความสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพของสมาชิกภายในครอบครัว โดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวที่ต้องสัมผัสกับปากโดยตรงยิ่งต้องดูแลมาก เป็นพิเศษ Food for Health Guide จึงรวบรวม ความรู้ เคล็ด(ไม่)ลับ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ในการปรุงอาหาร ทำอาหาร และงานครัวต่างๆ เพื่อที่คุณจะสามารถนำไปลองทำกันได้ง่ายๆ มาแนะนำค่ะ

......................................................................................................................................................

"เจี๊ยะกอ" คืออะไร?

"เจี๊ยะกอ" ((石膏) เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว) หรือบางคนก็เรียก เอี๊ยะกอ คือ แคลเซียมซัลเฟต (Calcium Sulfate) หรือ หินฝุ่น หรือ ผงยิปซัม (Gypsum powder) หรือ หินอ่อนสะตุ*  เป็นส่วนผสมหลักในการทำเต้าหู้ บางคนจึงเรียกว่า "หินเต้าหู้" ก็มี เจี๊ยะกอ ใช้ในการทำเต้าหู้อ่อน เพื่อทำให้โปรตีนในน้ำนมถั่วเหลืองตกตะกอน เนื้อจะเนียนและไม่แข็งเท่าเต้าหู้ขาวแข็งที่จะใช้ดีเกลือเป็นส่วนผสม

เจี๊ยะกอ เวลาใช้ ต้องป่นและร่อน ให้เป็นผงละเอียด หาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ หรือร้านขายเครื่องยาจีนทั่วไป หรือ แถวย่านตลาดเก่าเยาวราช หรือ วงเวียน 22 ร้านขายยาจีนบางร้านอาจจะเป็นหินอ่อนที่ยังไม่ได้สะตุ


(*) การสะตุ คือ การทำให้ตัวยามีฤทธิ์อ่อนลง หรือ ทำให้พิษของตัวยาน้อยลง หรือทำให้ตัวยานั้นสะอาดขึ้น หรือทำให้ตัวยานั้นสะอาดปราศจากเชื้อโรค หรือ ทำให้ตัวยานั้นสลายตัวลง เช่น เกลือเมื่อสะตุแล้ว จะละเอียดลง ผสมยาง่ายขึ้น และฤทธิ์อ่อนลง เป็นต้น



ดูเคล็ดลับทั้งหมด | SEE ALL TIPS & TRICKS »



Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...