ในการบำบัดรักษาโรคเบาหวานนั้น เบื้องต้นควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง และควบคุมอาหารไปพร้อมๆ กันด้วย อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรงด ได้แก่ อาหารน้ำตาลทุกชนิด เช่น ขนมหวาน ของเชื่อม น้ำหวาน น้ำอัดลม เป็นต้น รวมถึงผลไม้ที่หวานจัดด้วย เช่น ทุเรียน น้อยหน่า ละมุด ลำใย ฯลฯ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล่านี้ล้วนเป็นอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องพึงระวังในการรับประทานเป็นอย่างยิ่ง
และในปัจจุบัน "สมุนไพร" ได้เข้ามามีบทบาทในการรักษา และควบคุมความรุนแรงของโรคที่มีผลต่อสุขภาพชีวิตของคนไทยได้หลายๆ โรค เบาหวานก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถใช้สมุนไพรในการควบคุมความรุนแรงของโรคได้ วันนี้เราจึงมี 3 สมุนไพร พิชิต โรคเบาหวาน (3 Herbal to Cure Diabetes) มาแนะนำกันค่ะ
1. มะระขี้นก (Bitter Cucumber, Balsam Pear)
มะระขี้นก มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด มีรายงานการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย พบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดจากสัตว์ทดลอง และ ผู้ป่วยเบาหวาน และสามารถชะลอการเกิดต้อกระจก ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ จากผลการวิจัยสรุปว่า มะระขี้นก มีกลไกการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้หลายวิธี คือ ออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ออกฤทธิ์เกี่ยวกับการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสในตับ องค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดคือ อินซูลิน คาแรนทิน และไวซีน
มะระขี้นก จึงเป็นพืชผักสมุนไพรตัวแรกที่ควรส่งเสริมให้ใช้เป็นสมุนไพรคู่ใจผู้ป่วยเบาหวาน จากการที่มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือดทั้งในสัตว์ทดลองและในคนเป็นจำนวนมาก และรูปแบบวิธีใช้ที่ให้ผลลดน้ำตาลในเลือดก็ไม่ซับซ้อน คือสามารถใช้ได้ทั้งน้ำคั้น ชงเป็นชา หรือกินในรูปแบบของแคปซูล ผงแห้ง
2. ผักเชียงดา (Perrpioca of the woods)
ผักพื้นบ้านชื่อแปลกชนิดนี้ว่า “เซี่ยงดา หรือ เซ่งดา” ในภาษาเมืองของภาคเหนือ มันคือผัก “เชียงดา” หรือ “จินดา” ในภาคกลาง ส่วนในภูมิภาคอื่นๆ จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น “ผักว้น” ,“ม้วนไก่” หรือ “ผักเซ็ง” มีลักษณะเป็นไม้เถาเป็นพุ่มทึบ น้ำยางใส ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ สีเหลืองอมส้ม ผลรูปหอก เติบโตในป่าเขตร้อนภาคกลางและภาคใต้ของอินเดีย และภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ผักเชียงดารู้จักกันดีในภาษาอังกฤษว่า “Perrpioca of the woods” และ เบสบาสรินกิ แปลว่า เขาแกะ ในภาษาสันสกฤต มีข้อมูลที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือในภาษาฮินดู “Gurmar” แปลตรงตัวว่า “ผู้ฆ่าน้ำตาล”
ผักเชียงดา เป็นผักที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นผักเพิ่มกำลังในการทำงานหนัก และใช้เป็นยารักษาเบาหวาน เช่นเดียวกับอินเดียและประเทศแถบเอเชียมานานกว่า 2000 ปีแล้ว ผักเชียงดา สามารถนำไปใช้ลดน้ำหนัก เพราะว่า ผักเชียงดา ช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และพบมีรายงานการศึกษาว่า ผักเชียงดา สามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง แคปซูล ผักเชียงดา ยังมีวางขายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรูปแบบผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของกรดไกนีมิก
ในยอดอ่อนและใบอ่อน มีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง รากและใบของผักเชียงดามีสารสำคัญคือ gymnemic acid มีรูปร่างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงไปจับเซลล์รีเซพเตอร์ในลำไส้ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาล
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ผักเชียงดา มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2469 และปี พ.ศ.2524 มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนที่เป็นอาสาสมัครที่แข็งแรง พบว่า ผักเชียงดา ไปฟื้นฟูบีตาเซลล์ของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ ผักเชียงดา สามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2
3. ตำลึง (Ivy Gourd)
ตำลึง เป็น สมุนไพร ที่นิยมใช้รักษาโรคผิวหนังพวกผื่นแพ้ ตำแย หมามุ่ย หนอนคัน บุ้ง หอยคัน มดคันไป ผื่นคันจากน้ำเสีย ผื่นคันจากละอองข้าว ผื่นคันชนิดที่ไม่รู้สาเหตุ เริม งูสวัด สุกใส หิด สิว ฝีหนอง เป็นต้น ส่วนการกินตำลึงจะช่วยระบายท้อง ลดการอึดอัดท้องหลังกินอาหารเนื่องจากมีสารช่วยย่อยแป้ง และช่วยแก้ร้อนใน เป็นต้น ที่สำคัญคือตำลึงเป็นยาพื้นบ้านใช้รักษาเบาหวาน ทั้งราก เถา ใบ ใช้ได้หมด มีสูตรตำรับหลากหลาย และในตำราอายุรเวทก็มีการใช้เป็นยารักษาเบาหวานมานานนับพันปี ชาวเบงกอลในอินเดียใช้ตำลึงเป็นยาประจำวันสำหรับแก้โรคเบาหวาน
สำหรับ การรักษาเบาหวานด้วย ตำลึง นั้น ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ตำลึง จำนวนมาก และเป็น สมุนไพร ที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดตัวหนึ่ง จากการทบทวนผลการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับสรรพคุณของ สมุนไพร ลดน้ำตาลในเลือด ของทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าตำลึงและโสมมีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลการลดน้ำตาลดีที่สุด และได้ค้นพบสรรพคุณของ ตำลึง ที่ช่วยลดน้ำตาล คือ ใบ ราก ผล มีการศึกษาพบว่าการกินตำลึงวันละครึ่งขีด ทุกวันสามารถรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ได้ ข้อดีของตำลึงคือปลูกง่าย หาง่ายและราคาถูกกว่าโสมมากโดยเฉพาะในบ้านเรา
ขอบคุณที่มาจาก ศูนย์ข้อมูลด้าน สุขภาพ เพื่อคนไทย
credit:
http://women.mthai.com/
http://thaiplants.blogspot.com