ทำไมผู้ป่วยธาลัสซีเมียจึงมีธาตุเหล็กมากทั้ง ๆ ที่เป็นโรคเลือดจาง ควรรับประทานอาหารประเภทใด และงดอาหารประเภทใดบ้าง?
ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย มีธาตุเหล็กในร่างกายมากกว่าคนปกติ เพราะแม้ว่าธาตุเหล็กจะถูกขับอกจากรางกายได้เท่าเทียมคนปกติ แต่เนื่องจากเม็ดเลือดแดงในร่างกายของผู้ที่เป็นโรคนี้อายุสั้น แตกง่าย ในเม็ดเลือดแดงมีธาตุเหล็กอยู่ จึงปลดปล่อยตกค้างภายในร่างกาย นอกจากนั้นภาวะซีดทำให้ลำไส้ดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารเพิ่มมากกว่าปกติ และยิ่งมีการให้เลือดด้วยเมื่อเม็ดเลือดแดงที่ได้รับเสื่อมตายไปในร่างกาย เหล็กจากเม็ดเลือดแดงเหล่านั้นก็จะตกค้างสะสมอยู่ในร่างกายเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยโรคนี้ควรรักษาสุขภาพอนามัยให้ดี เพราะถ้าเจ็บป่วยไม่สบายบ่อย ๆ จะทำให้ยิ่งซีดลงกว่าเดิม ทำให้รับเลือดบ่อยขึ้น เหล็กสะสมก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น เป็นผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ ตามไปด้วย คนที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกเร็ว ร่างกายก็จะพยายามสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมาแทน สร้างมากและสร้างเร็วกว่าคนปกติหลายเท่า ฉะนั้นควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ มีโปรตีนสูง
อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมีย คือ อาหารคุณภาพดีที่ให้โปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นม และอาหารที่มีวิตามินที่เรียกว่า "โฟลิค" อยู่มาก ได้แก่ ผักต่าง ๆ ผักสด ผลไม้สด ตามฤดูกาล ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด
ส่วนอาหารที่ผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมีย ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับและเลือด กุ้ง หอยแมลงภู่ หอยนางรม และสาหร่ายทะเลที่มีธาตุเหล็กสูงกว่าเนื้อสัตว์ 3-8 เท่า และ ผักบางชนิดที่ให้ธาตุเหล็กอยู่ เช่น เช่น ผักกูด มะเขือพวง ผักโขม ใบชะพลู ดอกแค ใบตำลึง เป็นต้น รวมถึงอาหารเผ็ด และอาหารที่ย่อยยากด้วย
** อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม "ผักที่มีธาตุเหล็ก" » **
แต่หากมีการรับประทานอาหารที่เหล็กสูงเข้าไป อาจดื่มเครื่องดื่มประเภท ชา และ นมถั่วเหลือง เพื่อไปช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็กได้ ที่สำคัญ ไม่ควรซื้อวิตามิน แร่ธาตุ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
สรุปข้อควรปฏิบัติ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย
1. รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารรส หวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
2. รับประทาน ไข่ นม เต้าหู้ หรือนมถั่วเหลืองมากๆ (ควรดื่มนมทุกวัน วันละ 2-3 กล่อง)
3. รับประทานผักสด ให้ได้ปริมาณประมาณมื้อละ 1 ทัพพี, รับประทานผลไม้ทุกวัน
4. ดื่มน้ำชาหลังอาหาร เพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก จากการที่เรารับประทานอาหารบางชนิดเข้าไป เพราะอาหารบางชนิดจะมีธาตุเหล็กสูงกว่าอาหารบางประเภท ผู้ป่วยจึงต้องดื้นน้ำชาหลังอาหาร เพื่อช่วยลดธาตุเหล็ก และยังทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใข้วิธีการขับเหล็กที่แสนจะทรมาน
5. ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน เนื่องจากฟันผุง่าย ผู้ที่ป่วยเป้รโรคนี้ จะมีกระดูกและฟันที่ผุได้ง่าย ดังนั้นควรแปรงฟันทุกวัน และหมั่นไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพกระดูกและฟัน อย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน
6. ควรนอนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง และ ออกกำลังกายทุกวัน วันละ 15-30 นาที แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีโอกาสกระทบกระแทกรุนแรง
7. หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือการเล่นกีฬาที่รุนแรง เพราะผู้ป่วยบางรายงายมี ม้ามโต ตับโต ถ้ากระแทกอะไรแรงๆ อันถึงม้ามและตับแตกได้ และถ้าเกิดอุบัติเหตุเลือดจะไหลไม่หยุด
8. ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เลือดหมู เลือดไก่ เครื่องในสัตว์ ตับ และผักบางชนิดที่มีธาตุเหล็กสูง
9. ห้ามรับประทานยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กทุกชนิด เพราะจะทำให้มีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมาก และเร็วกว่าที่ควร ดังนั้นควรทานยาตามที่แพทยืสั่งเท่านั้น ห้ามซื้อยารับประทานเองโดยเด็ดขาด
10. ไม่ควรปล่อยให้ตนเองมีไข้สูง เพราะขณะมีไข้เม็ดเลือดจะแตกเร็วกว่าปกติ ถ้าไม่สบาย และมีไข้ขึ้น ควรไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ
11. รับประทานยาเสริมโฟเลท วันละ 1 เม็ด เนื่องจากโฟเลทเป็นสารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง เพราะร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ เพื่อมาชดเชยเม็ดเลือดแดงที่อายุสั้นลง ดังนั้นควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อเป็นการดูแลรักษาตนเอง
12. ถ้ามีอาการปวดท้องที่บริเวณชายโครงขวาอย่างรุนแรง มีไข้ และตาขาวมีสีเหลืองมากขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะผู้ป่วยบางประเภทจะมีอาการของโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น เป็นนิ่วในถุงน้ำดี